Skip to content
Home » ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ท ส่วนใหญ่จะใช้ขั้วหลอดไฟแบบเขี้ยวแบบใดบ้าง ?

ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ท ส่วนใหญ่จะใช้ขั้วหลอดไฟแบบเขี้ยวแบบใดบ้าง ?

ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ท

รู้หรือไม่ว่า ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ทส่วนใหญ่มักจะใช้อะไรซ้ำเดิม เช่นขั้วหลอดไฟนี้ใช้แล้วดีก็จะใช้ขั้วหลอดไฟนี้ไปตลอด และขั้วหลอดไฟที่ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ทส่วนใหญ่ใช้กันเป็นประจำ ก็คือ ขั้วหลอดไฟแบบเขี้ยว ซึ่งขั้วหลอดไฟแบบเขี้ยวนี้ก็จะแตกแยกย่อยออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ อีก ดังนั้น บทความนี้เราจึงจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับขั้วหลอดไฟแบบเขี้ยวกัน ว่าขั้วหลอดไฟแบบเขี้ยวนี้แยกย่อยออกไปกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีรูปแบบการใช้งานอย่างไรบ้าง 

ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ท ส่วนใหญ่จะใช้ขั้วหลอดไฟแบบเขี้ยวแบบใดบ้าง ?

  • ขั้วแบบเขี้ยวที่ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ทชอบใช้แบบแรก คือ ขั้ว G13 : ก็คือขั้วหลอดไฟนีออนนั้นเอง โดยจะนำมาใช้กับหลอดนีออน T8 (ฟลูออเรสเซนต์) ขนาดวัตต์ 18w (หลอดสั้น) และ 36w (หลอดยาว) ซึ่งหลอดนีออนเดิมนั้นต้องใช้ควบคู่กับ บัลลาสต์ และ สตาร์ทเตอร์ เพื่อทำให้หลอดติด หรือ ใช้กับ บัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์อย่างเดียวก็ได้เหมือนกัน และปัจจุบันหลอดแอลอีดีได้มีการผลิตขึ้นเพื่อใช้แทนหลอดนีออนเดิมแล้ว โดยมีชื่อเรียกว่าหลอด LED TUBE ซึ่งช่วยให้ประหยัดไฟลงได้มากเลยทีเดียว ติดตั้งก็ง่าย ไม่ต้องใช้ บัลลาสต์ และ สตาร์ทเตอร์ ให้ความสว่างมากกว่า และความร้อนต่ำกว่าอีกด้วย
  • ขั้วแบบเขี้ยวที่ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ทชอบใช้แบบที่สอง คือ ขั้ว GU10 : หรือเรียกอีกชื่อนึงว่า ขั้วขาสตาร์ทเตอร์ ลักษณะจะเหมือนกับขั้วสตาร์ทเตอร์ คือ มีขาบิดล็อคได้ ซึ่งขั้ว GU10 เรามักจะพบเห็นในหลอดฮาโลเจนแบบถ้วย MR16 ซึ่งหลอดดังกล่าวนิยมนำมาใช้กับโคมไฟติดราง ซึ่งต้องติดตั้งในลักษณะส่องลง ทำให้มีโอกาสที่หลอดจะหลุดออกจากตัวโคมได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องใช้ขั้ว GU10 กับหลอดไฟบางประเภทนั้นเอง ปัจจุบันหลอดแอลอีดีก็ได้มีการผลิตมาในขั้วหลอด GU10 นี้ด้วยเหมือนกัน เพื่อตอบสนองผู้ใช้ที่ยังมีโคมไฟขั้ว GU10 อยู่ด้วย

และขั้วแบบเขี้ยวที่ร้านทําป้ายอิงค์เจ็ทชอบใช้แบบสุดท้าย คือ ขั้ว GU5.3 : สำหรับขั้ว GU5.3 นั้น นิยมนำมาใช้กับหลอดฮาโลเจนแบบถ้วย และ ฮาโลเจนแบบแคปซูล ซึ่งลักษณะขั้วจะเป็นเหล็กแหลมสั้นๆ 2 แท่งที่ตัวขั้วหลอด โดยตัวเลข 5.3 คือ ระยะห่างของแท่งเหล็กทั้ง 2 แท่ง นั้งเองครับ (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) และยังมีขั้ว GU4 ซึ่งระยะห่างระหว่างแท่งเหล็กจะแคบกว่าขั้ว GU5.3 เล็กน้อย โดยขั้วแบบนี้อาจเป็นขั้วที่มีการใช้แบบเฉพาะเจาะจงนิดนึง ฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งนะ